top of page

Pitching คืออะไร? เทคนิคการนำเสนออย่างมืออาชีพ


Pitching คืออะไร, TIME Digital

บริษัทขนาดเล็กที่เพิ่งเริ่มต้นกิจการอย่าง “บริษัทสตาร์อัพ” หากต้องการนำเสนอสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด จะต้องอาศัยเงินทุนจากแหล่งต่าง ๆ ในการขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโต ผ่านการ Pitching โดยมีจุดประสงค์หลักเพื่อโน้มน้าวให้ผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมทุนสนใจและต้องการร่วมทุนหรือลงทุนในธุรกิจ อย่างไรก็ตาม การ Pitching สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับทุกบริบท เช่น การนำเสนอสินค้าหรือบริการต่อลูกค้าหรือผู้ซื้อ การนำเสนอโครงการหรือแผนงานต่อหน่วยงานหรือองค์กร และ การนำเสนอแนวคิดหรือไอเดียใหม่ ๆ ต่อสาธารณชน


โดยในบทความนี้เราจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับความหมายของ Pitching ว่าคืออะไร วัตถุประสงค์ ไปจนถึงเทคนิคการนำเสนอ Pitching เพื่อให้ทุกคนสามารถนำเสนอธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือ เพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จได้มากขึ้น

 

Pitching คืออะไร? ชนะใจลูกค้าด้วยการนำเสนออย่างโดดเด่น

การ Pitching คือ การสื่อสารนำเสนอแผนธุรกิจหรือไอเดียให้กับกลุ่มเป้าหมาย โดยมุ่งเน้นให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความสนใจและเข้าใจในสิ่งที่นำเสนอ โดยการ Pitching จำเป็นต้องใช้ศาสตร์หลากหลายด้านประกอบกัน เช่น การพูด การฟัง การตอบคำถาม อย่างไรก็ตาม การ Pitching แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามระยะเวลาในการนำเสนอ ดังนี้

  • Elevator Pitch ใช้เวลา 30 วินาที - 1 นาที เหมาะสำหรับการนำเสนอแบบสั้น ๆ เน้นการดึงความสนใจของผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมทุน

  • Short Pitch ใช้เวลา 3 - 5 นาที เหมาะสำหรับการนำเสนอแบบทั่วไป

  • Comprehensive Pitch ใช้เวลา 30 นาที - 1 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการนำเสนอที่ครอบคลุมทุกแง่มุมของแผนธุรกิจ

  • Investor Pitch ใช้เวลา 1 - 2 ชั่วโมง เหมาะสำหรับการนำเสนอต่อนักลงทุน

  • Demo Day Pitch ใช้เวลา 5 - 10 นาที เหมาะสำหรับการนำเสนอผลงานต่อผู้ชมจำนวนมาก

 

สำหรับนักธุรกิจหรือผู้ประกอบการ การ Pitching คือ ทักษะที่จำเป็นในการนำเสนอแผนธุรกิจหรือไอเดียให้กับนักลงทุนหรือผู้ร่วมทุน เพื่อให้สามารถเข้าใจศักยภาพของธุรกิจหรือไอเดีย และตัดสินใจลงทุนกับธุรกิจ ในส่วนของพนักงานในองค์กร สามารถใช้ทักษะการ Pitching นำเสนอผลงานให้กับผู้บริหารหรือลูกค้า เพื่อให้ผู้บริหารหรือลูกค้าเข้าใจถึงคุณค่าของผลงานหรือไอเดียนั้น ๆ และตัดสินใจสนับสนุนผลงานได้ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการมีทักษะและรู้เทคนิคการนำเสนอ Pitching อย่างถูกต้อง จะช่วยให้ผู้นำเสนอสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายของการนำเสนอได้


การ Pitching จำเป็นต้องใช้ทักษะด้านใดบ้าง

การ Pitching จำเป็นต้องใช้ศาสตร์หลากหลายด้านประกอบกัน เพื่อช่วยให้ผู้นำเสนอสามารถสื่อสารข้อมูลสำคัญให้ครบถ้วนและเข้าใจง่าย โดยในหัวข้อนี้เราได้รวมรวมทักษะที่สำคัญในการนำมาผนวกการ Pitching เพื่อให้สามารถโน้มน้าวใจผู้ลงทุนได้


สื่อสารชัดเจน

การสื่อสารอย่างชัดเจนเป็นทักษะที่สำคัญ โดยเฉพาะในการ Pitching หรือการนำเสนอแผนธุรกิจหรือไอเดียสู่กลุ่มเป้าหมาย เช่น ผู้ลงทุน การสื่อสารที่ชัดเจนจะช่วยให้ผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมทุนเข้าใจประเด็นสำคัญที่ต้องการนำเสนอได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย ทั้งนี้ การสื่อสารควรมีความกระชับ เข้าใจง่าย และใช้ภาษาที่ชัดเจนตรงประเด็น หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิคหรือคำศัพท์เฉพาะทางที่อาจทำให้ผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมทุนเข้าใจผิดหรือสับสนได้


ทำการวิจัย ค้นคว้า

การ Pitching ที่ดีจะต้องข้อมูลหรือข้อเท็จจริงประกอบการนำเสนอ เพื่อให้ผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมทุนเข้าใจและเห็นถึงศักยภาพของสิ่งที่นำเสนอได้อย่างชัดเจน ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับการนำเสนอ และทำให้ผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมทุนรู้สึกมั่นใจว่าสิ่งที่คุณพูดนั้นมีความถูกต้องและสามารถนำไปใช้งานได้จริง

 

การแก้ปัญหา

การนำเสนอแผนธุรกิจ หรือไอเดียที่ดีจะต้องแสดงให้เห็นว่าแนวคิด ธุรกิจ หรือบริการและผลิตภัณฑ์ สามารถแก้ไขปัญหา หรือตรงกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งการแก้ไขปัญหาถือเป็นหนึ่งในเทคนิคการนำเสนออย่าง Pitching ที่ช่วยให้การพูดมีโอกาสประสบความสำเร็จมากขึ้น เนื่องจากผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมลงทุนจะรู้สึกได้ว่าธุรกิจ เข้าใจและให้ความสำคัญกับความต้องการของพวกเขา ตัวอย่างเช่น

  • ผู้ลงทุน: บริษัท อีคอมเมิร์ซ

  • ปัญหา: ความล่าช้าในการจัดส่งสินค้า

  • แก้ไข: ระบบขนส่งอัจฉริยะ

  • โซลูชัน: ระบบขนส่งอัจฉริยะใช้เทคโนโลยีเซ็นเซอร์ และปัญญาประดิษฐ์เพื่อติดตามและควบคุมการขนส่งสินค้าอย่างเรียลไทม์ ระบบสามารถคาดการณ์ และแจ้งเตือนล่วงหน้าถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้น เช่น การจราจรติดขัดหรือสภาพอากาศเลวร้าย ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถวางแผนและจัดการการขนส่งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น


ดังนั้น การ Pitching ที่ดีคือจะต้องแสดงให้เห็นถึงปัญหา และวิธีแก้ไข ผ่านการอธิบายถึงแนวคิด ไอเดีย และแผนของคุณ ซึ่งจะช่วยให้มีโอกาสประสบความสำเร็จในการนำเสนอมากขึ้น


มั่นใจในการพูดที่สาธารณะ

การพูดในที่สาธารณะถือเป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับทุกคน อย่างไรก็ตาม การพูดในต่อหน้าผู้คนหมู่มากหลายคนอาจมีความกังวล และไม่มั่นใจ เนื่องจากกลัวการถูกปฏิเสธ กลัวความผิดพลาด หรือกลัวการแสดงออกต่อหน้าผู้คนจำนวนมาก ซึ่งเป็นอาการปกติที่คุณสามารถฝึกฝนเพื่อลดอาการเหล่านี้ได้ เช่น เตรียมตัวให้พร้อม ศึกษาหัวข้อที่จะพูดอย่างละเอียด ฝึกซ้อมพูดหน้ากระจกหรือกับเพื่อนฝูง เพื่อคุ้นเคยกับเนื้อหาและฝึกฝนทักษะการพูด, ฝึกสมาธิ ขณะพูดให้โฟกัสกับเนื้อหาที่พูด อย่าปล่อยให้ความคิดวอกแวกไปเรื่องอื่น, สร้างความมั่นใจ เชื่อมั่นในตนเองว่าเราสามารถพูดได้สำเร็จ แสดงออกอย่างมั่นใจและยิ้มแย้มแจ่มใส



Pitching คืออะไร, TIME Digital


3 เทคนิคการ Pitching นำเสนองานอย่างไรให้มัดใจผู้ฟัง

การ Pitching คือทักษะที่สำคัญสำหรับนักธุรกิจและผู้ประกอบการทุกคน การมีเทคนิคนำเสนอที่ถูกต้องไม่เพียงทำให้ผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมทุนเข้าใจได้ดีเท่านั้น แต่ยังทำให้เกิดความประทับใจในไอเดียหรือผลิตภัณฑ์ที่คุณนำเสนอ ดังนั้น บทความนี้จะนำเสนอ 3 เทคนิคที่สำคัญในการ Pitching เพื่อมัดใจผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมทุนของคุณ


1. การนำเสนอเปรียบเสมือนการเล่าเรื่อง

Pitching คือทักษะที่ต้ององค์ประกอบที่สำคัญ ในการดึงดูดความสนใจของผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมทุน เช่นเดียวกับการเล่าเรื่องทั่วไป การนำเสนอแผนธุรกิจก็ควรมีจุดเริ่มต้นที่น่าสนใจ เพื่อสร้างความสนใจให้ผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมทุนจดจ่อและติดตามฟังจนจบ ผู้ประกอบการจึงควรพิจารณาว่าผู้ลงทุน หรือผู้ร่วมทุนอยากฟังเรื่องอะไร อะไรคือปัญหาหรือความต้องการที่พวกเขาต้องการจะได้รับการแก้ไข จากนั้นจึงนำประเด็นเหล่านี้มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวที่เชื่อมโยงกันตั้งแต่ต้นจนจบ


นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังควรปรับเนื้อหาของแผนธุรกิจให้ตรงกับความสนใจของผู้ลงทุนแต่ละราย โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ประสบการณ์ เป้าหมาย และความสนใจเฉพาะทางของผู้ลงทุน เพื่อให้การนำเสนอแผนธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีโอกาสได้รับการพิจารณามากขึ้น โดยเราจะขอตัวอย่างการ Pitching นำเสนอแผนธุรกิจในการทำ Digital Transformation ดังนี้

  • เล่าถึงปัญหา (Problem): ปัจจุบันโลกกำลังเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีบทบาทในทุกภาคส่วน ทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐ และภาคประชาชน องค์กรธุรกิจจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ เพื่อไม่ให้เสียเปรียบคู่แข่งและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน สำหรับองค์กร ในปัจจุบันยังมีลักษณะการทำงานแบบเดิม ๆ ที่ยังใช้กระดาษและเอกสารเป็นหลัก กระบวนการทำงานยังขาดความคล่องตัว ส่งผลให้เกิดความล่าช้าและผิดพลาด นอกจากนี้ องค์กรยังขาดทักษะและความรู้ด้านดิจิทัลที่จำเป็นในการปรับตัวสู่ยุคดิจิทัล

  • วิธีแก้ไขปัญหา (Solution)  : แผนธุรกิจการปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาและข้อจำกัดข้างต้น โดยมุ่งเน้นไปที่การปรับเปลี่ยนองค์กรใน 4 ด้านหลัก ได้แก่

    • ด้านกระบวนการทำงาน (Process) : ปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวมากขึ้น โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ เช่น การนำระบบดิจิทัลมาช่วยในการบริหารจัดการเอกสาร การจัดทำระบบอัตโนมัติสำหรับงานประจำ เป็นต้น

    • ด้านโครงสร้างองค์กร (Organization) : ปรับโครงสร้างองค์กรให้เหมาะสมกับการทำงานในยุคดิจิทัล โดยให้ความสำคัญกับการทำงานแบบ Agile และการทำงานแบบทีม

    • ด้านวัฒนธรรมองค์กร (Culture) : ปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรให้เอื้อต่อการทำงานในยุคดิจิทัล โดยให้ความสำคัญกับความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ และนวัตกรรม

    • ด้านเทคโนโลยี (Technology) : ลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัล

  • ตลาด (Market) : แผนธุรกิจนี้มีความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของตลาดในปัจจุบัน โดยตลาดมีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญกับองค์กรที่ปรับตัวสู่ยุคดิจิทัลมากขึ้น องค์กรที่ปรับเปลี่ยนองค์กรให้เป็นดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันแล้ว จะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและคู่ค้าได้ดียิ่งขึ้น และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • การเงิน (Financial) : แผนธุรกิจนี้คาดว่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับองค์กรในระยะยาว โดยคาดว่าจะสามารถเพิ่มยอดขายและกำไรให้กับองค์กรได้ การลงทุนในเทคโนโลยีดิจิทัลในระยะแรกอาจต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก แต่ในระยะยาวจะสามารถสร้างผลตอบแทนให้กับองค์กรได้อย่างคุ้มค่า


ออกแบบสไลด์ Pitching Deck ให้น่าสนใจ

Pitching Deck คือ การออกแบบสื่อที่ใช้ในการนำเสนอแผนธุรกิจ ซึ่งจะออกมาในรูปแบบของสไลด์ที่รวบรวมข้อมูลสำคัญในการประกอบการนำเสนอ ส่วนใหญ่สไลด์ที่ออกแบบมาควรจำมีจำนวนหน้าอยู่ที่ 13-15 หน้า ตัวอย่างสไลด์ Pitching ที่ดีจะควรใช้ภาพประกอบและกราฟิก, ใช้สีสันให้เหมาะสม, ตัวอักษรที่อ่านง่าย และเนื้อหากระชับ เข้าใจง่าย ตัวอย่างสไลด์ Pitching Deck Airbnb จะใช้สีที่สบายตา ตัวหนังสือไม่แน่นจนเกินไป และเริ่มเล่าเรื่องจากการระบุถึงปัญหา วิธีการแก้ไขปัญหา มูลค่าของตลาด และรายละเอียดอื่น ๆ ที่มีความสำคัญ





นอกจากรายละเอียดด้านบนแล้ว สามารถเพิ่มเนื้อหาอื่น ๆ ได้เพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับบริบทของสิ่งที่คุณจะนำเสนอแผนธุรกิจให้แกผู้ลงทุน เช่น หากคุณต้องการนำเสนอสินค้าและบริการ จะสามารถเพิ่มเนื้อหาในหัวข้อ Go-to-Market Strategy (กลยุทธ์การเข้าสู่ตลาด), Marketing and Sales (การตลาดและการขาย), Business Model (รูปแบบธุรกิจ) เพื่อให้การ Pitching มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น


ฝึกซ้อมอยู่เสมอ

การฝึกซ้อมการ Pitching มีความสำคัญอย่างมากต่อการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ ผู้นำเสนอควรฝึกซ้อมการนำเสนออย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถนำเสนอได้อย่างมั่นใจและลื่นไหล โดยไม่ติดขัด ซึ่งการฝึกซ้อมอย่างมีประสิทธิภาพควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ เช่น การฝึกเพิ่มความมั่นใจ การฝึกลดความเครียดและการรับมือกับปัญหา ตลอดจนฝึกพูด ซึ่งอาจจะทำการอัดวีดีโอเก็บไว้ เพื่อให้สามารถย้อนดูได้ว่ามีจุดไหนที่ต้องปรับปรุงบ้าง เป็นต้น


สรุป

การ Pitching คือ การนำเสนอข้อมูลหรือความคิดต่อหน้าผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมทุน โดยมีจุดประสงค์เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมทุนเข้าใจและเห็นถึงคุณค่าของสิ่งที่นำเสนอ ซึ่งอาจนำไปสู่การยอมรับ การสนับสนุน หรือการลงทุนในอนาคต จึงถือเป็นทักษะที่สำคัญที่ทุกคนควรมี ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ นักธุรกิจ หรือพนักงาน เพราะการ Pitching ที่ดีจะช่วยให้ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ตั้งไว้

 

ทั้งนี้ หากคุณกำลังมองหาเทคนิค Pitching ที่ช่วยให้คุณนำเสนอแผนธุรกิจ นำเสนอผลงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ “หลักสูตร Pitching Perfect Essentials” จะช่วยให้คุณเรียนรู้เทคนิคการนำเสนอที่จำเป็นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการเตรียมตัวให้พร้อม การทำความเข้าใจความต้องการของผู้ลงทุนหรือผู้ร่วมทุน การเลือกภาษาที่ชัดเจนและกระชับ  การสร้างความประทับใจแรกพบที่ดี ตลอดจนวิธีการโน้มน้าวใจ หลักสูตรนี้สอนโดยผู้เชี่ยวชาญด้าน Pitching มากประสบการณ์ ที่จะช่วยคุณพัฒนาทักษะ Pitching ของคุณให้แข็งแกร่งขึ้น

bottom of page